LAB2

การทดลองที่ 2
การเปรียบเทียบคุณลักษณะเครื่องวัด

อุปกรณ์การทดลอง
1. Digital Multimeter (UNI-T รุ่น UT 30C)     1 เครื่อง
2. Analog Multimeter ยี่ห้อ Kyortsu รุ่น 1109     1 เครื่อง
3. True RMS Multimeter ยี่ห้อ Metrix รุ่น MX26     1 เครื่อง
4. True RMS Multimeter ยี่ห้อ Flukr รุ่น 115    1 เครื่อง
5. Digital Oscilloscope แบบ 4 channel 150MHz ยี่ห้อ Metrix รุ่น mtx3354  1 เครื่อง
6. Junction box   1 กล่อง

7. Function generator ยี่ห้อ Instek รุ่น GFG-8020H   1 เครื่อง

8. สาย Probe x1    2 เส้น


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษารู้จักคุณลักษณะของเครื่องวัดแต่ละประเภท
2. เพื่อให้นักศึกษาได้สังเกตความแตกต่างในการวัดสัญญาณ sine และ non-sine
3. เพื่อให้นักศึกษาได้ทดสอบความรู้เรื่อง True RMS โดยการวัดแรงดันสัญญาณหลายชนิด และเปรียบเทียบผลการวัดกับทฤษฎี
4. เพื่อให้นักศึกษาได้สัมผัสการใช้งาน Function Generator
5. เพื่อให้นักศึกษาได้สัมผัสการใช้งาน Digital Oscilloscope
หมายเหตุ : ควรสังเกตว่า ความถี่มีผลต่อค่าที่วัดได้หรือไม่

ทฤษฎี 
มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก

มัลติมิเตอร์แบบอนาลอกจะกินกำลังเล็กน้อยจากวงจรที่ทดสอบ  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความไวอย่างน้อย 20k/V ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะมีผลทำให้วงจรที่ทดสอบผิดปกติและ ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้องสำหรับรายละเอียด  เรื่องความไว ด้านล่างแบตเตอรี่ภายในมิเตอร์มีไว้สำหรับพิสัยการวัดความต้านทาน ใช้ได้นานเป็นปี แต่ต้องไม่ให้สายมิเตอร์แตะกัน หากตั้งพิสัยการวัดความต้านทานไว้เพราะจะทำให้แบตเตอรี่หมดและเพื่อป้องกันแบตเตอรี่หมดเร็วเมื่อเลิกใช้งาน ควรปรับตั้งไว้ที่ตำแหน่งอื่นๆหรือตำแหน่งปิดพิสัยการวัดธรรมดาทั่วไปสำหรับมัลติมิเตอร์แบบอนาลอก(เหมือนตัวในรูป)  (ค่าแรงดันและกระแสที่ให้นี้เป็นค่าที่อ่านได้สูงสุดในแต่ละพิสัย)


 แรงดัน DC: 0.5V,2.5V,10V,50V,250V,1000V
แรงดัน AC: 10V, 50V, 250V, 1000V 
กระแส DC: 50µA, 2.5mA, 25mA, 250mA ปกติมิเตอร์แบบนี้จะไม่มีพิสัยวัดกระแสสูง 
กระแส AC: ไม่มี (ไม่จำเป็นที่จะวัด) 
ความต้านทาน: 20, 200, 2k, 20k, 200k ค่านี้เป็นค่าความต้านทานที่กลางสเกลของแต่ละพิสัย  


ในกรณีที่ไม่มีตำแหน่งปิด (Off) เป็นความคิดที่ดีหากจะตั้งมัลติมิเตอร์แบบอนาลอกไว้ที่พิสัยการวัดแรงดันกระแสตรงเช่น 10V เมื่อเลิกใช้งานเพราะโอกาสที่จะเสียหายอันเกิดจาการวัดผิดพิสัยนี้มีน้อยกว่าและใช้ได้เลยในการวัดครั้งต่อไป เนื่องจากพิสัยนี้จะถูกใช้มากที่สุด

มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
ดิจิตอลมิเตอร์แทบทุกชนิดใช้กำลังงานจากแบตเตอรี่จึงไม่มีการกินกำลังจากวงจรที่ทดสอบนั่นหมายถึงว่าในพิสัยแรงดันกระแสตรงมีความต้านทาน สูงมาก (ปกติเรียกว่า อิมพิแดนซ์ ด้านเข้า) ประมาณ 1Mหรือสูงกว่า เช่น 10M และจะไม่เกิดผลต่อวงจรที่ทำการทดสอบพิสัยการวัดธรรมดาทั่วไป สำหรับมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล(เหมือนตัวในรูป)(ค่าที่ให้นี้เป็นค่าที่อ่านได้สูงสุดในแต่ละพิสัย)
แรงดัน DC: 200mV,2000mV,20V,200V,600V
แรงดัน AC: 200V, 600V
กระแส DC: 200µA, 2000µA, 20mA, 290mA ,10A (พิสัย 10A ปกติไม่ผ่านฟิวส์ และต้องต่อวัดกับช่องเสียบแยกต่างหาก)
กระแส AC: ไม่มี (ไม่จำเป็นที่จะวัด) 
ความต้านทาน: 200, 2k, 20k, 200kΩ ,2000k ค่านี้เป็นค่าความต้านทานที่กลางสเกลของแต่ละพิสัย

หมายเหตุ  มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลจะมีพิสัยเฉพาะสำหรับทดสอบไดโอดทั้งนี้เพราะว่าพิสัยความต้านทานของมิเตอร์แบบนี้ไม่สามารถใช้ทดสอบไดโอดและอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอื่นๆได้

การวัดแรงดันและกระแสด้วยมัลติมิเตอร์
ขั้นตอนในการทำงาน
1. เลือกพิสัยการวัดที่คาดว่าสูงกว่าค่าแรงดันที่เราจะวัด
2. ต่อมิเตอร์ โดยต้องแน่ใจว่าถูกขั้ว
3. มิเตอร์แบบดิจิตอลต่อผิดขั้วไม่เป็นไร แต่มิเตอร์แบบอนาลอกหากกลับขั้วจะทำให้เสียหายได้


True  RMS Multimeter : เป็นมัลติมิเตอร์ที่วัดค่า RMSที่สัญญาณไฟรูปคลื่นใดๆก็ตามได้ถูกต้องTrue  RMS AC+DC Multimeter :เป็นมัลติมิเตอร์ที่วัดค่าให้ได้ค่าออกมาถูกต้องที่สุดในกรณีที่สัญญาณไฟสลับไม่ได้เป็นรูป sine wave ที่สมบูรณ์ โดยจะนำค่าที่วัดส่วนของไฟฟ้า D.C. มารวมกับค่าที่วัดได้ของส่วน A.C. จึงได้เป็นค่าที่ถูกต้องที่สุด
Function Generator :เป็นเครื่องกำเนิดสัญญาณที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากฟังก์ชันเจนเนอร์เรเตอร์สามารถ ผลิตสัญญาณออกมาหลายรูปแบบให้เลือกตามงานที่ใช้ เช่น สัญญาณรูปคลื่นซายน์ (Sine Wave) สัญญาณรูปคลื่นสี่เหลี่ยม (Square wave) สัญญาณรูปคลื่นสามเหลี่ยม (Triangle ware) สัญญาณรูปคลื่นสัญญาณฟันเลื่อย (Sawtooth wave) สัญญาณรูปคลื่นพัลส์ (Pulse wave) ซึ่งฟังก์ชันเจนเนอร์เรเตอร์สามารถผลิตรูปสัญญาณคลื่นออกมากว้าง ตั้งแต่ความถี่ต่ำไปจนถึงหลายเมกกะเฮิรตซ์ (MHz)



Digital Oscilloscope
หลักการทำงาน
1. แทนแรงดันของสัญญาณที่ทำการวัดนั้นๆด้วยค่าดิจิตอล ซึ่งดิจิตอลออสซิลโลสโคปจะจับสัญญาณโดยเรียกตามลำดับการจับ
2. ทำการบันทึกจุดที่จับซึ่งจำนวนจุดจับสัญญาณที่มากก็จะทำให้รายละเอียดที่ดีของสัญญาณที่ทำการวัด 3. นำจุดเหล่านั้น ไปวางบนหน้าจอแสดงผลรูปสัญญาณหรือการแซมปลิ้งค่า (Sampling) ระบบ Digital Storage Oscilloscope (DSO) คือ พื้นฐานของดิจิตอลออสซิลโลสโคปในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามหน้าจอที่ใช้ในการแสดงผลที่นิยมใช้นั้น มักจะไม่ใช่จอแสดงผลแบบสารเรืองแสงแบบเดิมแล้ว แต่จะใช้แบบ Rater- type screen ดิจิตอลออสซิลโลสโคปในปัจจุบันนั้นมีความสามารถที่สูงขึ้นแสดงผลในหน้าจอแบบ LCD ที่มีทั้งมีสี และแบบขาวดำ

การประยุกต์ใช้งาน
ไม่ว่าจะเป็น Anolog หรือ Digital ออสซิลโลสโคปจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันแล้วแต่การนำไปใช้บ่อยครั้งที่ใช้ Analog ออสซิลโลสโคปจะถูกใช้การแสดงผลสัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว (Real-time) ซึ่งมันจะใช้หน้าจอแสดงผลแบบมีสารเรืองแสงที่สามารถกำหนดความเข้มอ่อนของสัญญาณที่วัด (Intensity grading) ซึ่งช่วยแสดงความแตกต่างของเข้มหรือความบ่อยในการเกิดของสัญญาณที่จับทำ ให้เห็นรายละเอียดของระดับความเข้มที่แตกต่าง ส่วนในดิจิตอลออสซิลโลสโคปนั้นก็มีความสามารถใช้ในการจับและแสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียวหรือชั่วขณะ (Transient) เพราะสัญญาณที่ทำการวัดนั้นจะอยู่ในข้อมูลเลขฐานสองของส่วนประมวลผลของมัน จึงสามารถนำมาวิเคราะห์ (Analyzed),เก็บบันทึก (Archives),พิมพ์ (Print) และส่งผ่านไปคอมพิวเตอร์ สำหรับสัญญาณที่ไม่มีความต่อเนื่องนั้นมาเป็นช่วงหรือครั้งคราวซึ่งดิจิตอลออสซิลโลสโคปก็สามารถแสดงสัญญาณเหล่านี้ได้อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถแสดงความเข้มของสัญญาณได้ เหมือนกันกับ Analog ออสซิลโลสโคป แต่ดิจิตอลออสซิลโลสโคปในรุ่นปัจจุบันก็มีสามารถแสดงความถี่ทั้งความถี่สูงหรือต่ำได้,แสดงสัญญาณซ้ำๆกัน (Repetitive signal),จับสัญญาณที่เกิดขึ้นชั่วขณะ (Transient),และแสดงสัญญาได้เร็ว (Real-time) ที่สูงขึ้นกว่าในอดีต นอกจากนี้ยังมีระบบแกน Z แสดงความเข้มของสัญญาณซึ่งเป็นจุดเด่นที่เหนือกว่ารุ่นก่อนหน้านี้

รูปคลื่นชนิดต่างๆ (Tupe of wave)
ที่ควรรู้ เพื่อใช้ประกอบในการใช้ออสซิลโลสโคป ในการวัดสัญญาณด้วยออสซิลโลสโคปนั้นเรามัก สามารถจำแนกชนิดต่างๆของรูปคลื่นได้เป็นดังนี้ 


  1.Sine Wave: Sine Wave เป็นคลื่นหลักของรูปคลื่นอื่นๆ คลื่นของแรงดันไฟฟ้าโดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น Sine Wave รวมถึงระบบไฟฟ้าที่ใช้งานในปัจจุบัน ซึ่งสัญญาณนี้มีจำนวนของความสัมพันธ์ harmonic ซึ่งเป็นคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ของการคิดสัญญาณชนิดนี้ ส่วน Damped Sine Wave เป็นกรณีพิเศษ สามารถพบได้ในวงจร Oscillate ซึ่งจะเป็นลักษณะของสัญญาณที่กระเพื่อมขึ้นไป และก็ลดลงมาอย่างรวดเร็ว

 2. Square and Rectangular Waves: Square Wave เป็นรูปคลื่นพื้นฐานอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งรูปแบบคลื่นจะเป็นการสลับแรงดันระหว่างการ On-Off (สูงหรือต่ำ)ในจังหวะที่ สม่ำเสมอ Square wave นั้นยังใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการทดสอบวงจรต่างๆเช่น ว่าสัญญาณภาคขยายสัญญาณ (Amplifier) ซึ่งภาคขยายที่ดีมักจะเพิ่มขนาด Amplitude ของ Square Waves ด้วยการรบกวนของสัญญาณที่ต่ำใน วงจรของโทรทัศน์วิทยุและคอมพิวเตอร์ใช้ Square Wave สำหรับเป็นฐานของเวลา (Timing ) ของวงจรอ้างอิงการทำงาน ส่วน Rectangular Wave  ก็มีลักษณะคล้ายๆกับ Square Wave แต่ความกว้างของสัญญาณด้าน High และด้าน Low นั้นอาจจะไม่เท่ากันซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงได้ด้วยก็มี ซึ่งมีความสำคัญสำหรับวิเคราะห์วงจรทางด้าน digital หรือวงจรขับสัญญาณต่างๆรูปแสดงตัวอย่างของ Square wave และ Rectangular wave


 3. Sawtooth and Triangle Waves: Saw tooth และ Triangle Wave มักใช้ในสัญญาณกวาดตามแนวนอน (Horizontal Sweep) ของ Analog ออสซิลโลสโคป หรือ เป็น Raster Scan ของสัญญาณโทรทัศน์ ระดับของแรงดันที่มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่คงที่เรียกสัญญาณนี้ว่าสัญญาณ Ramps รูปด้านล่าง แสดงตัวอย่างของสัญญาณ Saw tooth และ Triangle Waves


 4. Step and Pulse Shapes: สัญญาณเช่น Steps และ Pulses เป็นการเกิดเพียงสัญญาณครั้งเดียวเรียกว่า สัญญาณเดียว (Single-short) หรือสัญญาณชั่วขณะ (Transient) คือมีการเปลี่ยนแปลงแรงดัน อย่างทันทีทันใดในลักษณะคล้ายกับการสับสวิตซ์ ซึ่ง Pulse ที่พบมักจะเกิดขึ้น 2 ครั้งเป็นส่วนใหญ่คือเวลาเปิด และปิดสวิตซ์ ซึ่งอาจเกิดจากแสดงค่า 1 Bit ของคอมพิวเตอร์ หรือเกิดจากสัญญาณชั่วขณะในวงจร Glitch (Pulse ที่มีความแคบมากๆ) การรวมสัญญาณ Pulse แล้วไปพร้อมๆกันเรียกว่า Pulse Train เช่นในระบบส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใช้การสั่ง Pulse ออกมาเป็นขบวน นอกจากนี้ Pulse เป็นสัญญาณพื้นฐานของ X-Ray และการสื่อสารต่างๆ รูปด้านล่าง แสดงตัวอย่าง Step ,Pulse shapes และ Pulse Train


 5.Complex Waves : สัญญาณเกิดจากรการรวมทั้ง Sine, Square, Step และ Pulse สามารถวัดได้จากออสซิลโลสโคป สัญญาณ อาจประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทั้ง แอมพลิจูด ความถี่ และ เฟส ไปพร้อมกัน รูปด้านล่างแสดงตัวอย่างComplex เป็นพื้นฐานของสัญญาณ Video ซึ่งมี cycle ของความถี่สูงในชุดความถี่ต่ำ (Envelope) จากรูปเห็นว่าจะต้องเข้าใจในระดับของสัญญาณและเวลา (Timing) ที่เป็นอิสระจากกัน ใช้ออสซิลโลสโคปจับคือส่วนของสัญญาณความถี่ต่ำ (Envelope) และความเข้มของสัญญาณที่ผสมกับความถี่สูงเพื่อดูระดับของสัญญาณ Analog ออสซิลโลสโคปและ ดิจิตอลออสซิลโลสโคปนั้นสามารถจับสัญญาณ Complex ได้เช่นสัญญาณ Video ซึ่งมีการแสดงความเข้มของสัญญาณ บ่อยครั้งที่การจับความถี่เป็นจุดสำคัญที่เราต้องการพิจารณาสัญญาณทาง Complex เหล่านี้อีกด้วยรูปแสดงตัวอย่างของรูปคลื่น Complex

การทดลอง
                เริ่มทำการทดลองโดยใช้เครื่องวัดเข็มชี้ เครื่องวัด Digital และเครื่องวัด TRUE RMS ทำการวัดค่าแรงดันจากสัญญาณ Sine wave, Half wave และ Full wave โดยวัดในย่าน D.C. และ A.C เพื่อเปรียบเทียบกับผลจากเครื่องวัด TRUE RMS AC+DC
สรุปผลการทดลอง
หาค่า Vrms ของเครื่องวัดทั้ง 4 ชนิดกับสัญญาณชนิดต่างๆ โดยคำนวณจากสมการ



จากการทดลองพบว่ามิเตอร์แบบเข็มชี้นั้น มีความคลาดเคลื่อนมากกว่าแบบดิจิตอล เนื่องจากมิเตอร์แบบดิจิตอลมีความละเอียดมากกว่า และมิเตอรืที่มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดคือมิเอตร์แบบ true RMS (AC+DC) แบตเตอรี่ของเครื่องวัดแบบดิจิตอลมีผลต่อการวัดค่าทางไฟฟ้าได้เช่นกันถ้าถ้าแบตเตอรี่อ่อน ค่าที่วัดได้จะเที่ยงตรงเมื่อเป็น Pure DC เท่านั้น