LAB8

การทดลองที่ 8
Clamp Characteristic in Power Measurement
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
1.        หลอดไฟนีออน3 หลอด
2.      Oscilloscope OX 6062-M
3.        kWh meter  DD28 1 ตัว
4.        Watt meter C.A 4051 ตัว
5.        Clamp meter AC/DC MA CURRENT PROBE 1  ตัว
6.        Clamp meter MN 13-EL CURRENT CLAMP 1 ตัว
7.        Clamp meter GENERAL ELECTRIC 1 ตัว
8.        Clamp meter AMPROBE 1 ตัว
9.        Power meter NANOVIP 1 ตัว
10.     Multifunction meter MC 740 1 ตัว
11.     Junction Box 1 ตัว
12.     แผงทดลองวงจรไฟฟ้า 1 ชุด
วัตถุประสงค์
1.        เพื่อสังเกตการใช้ Current Probe กับ Oscilloscope 
2.        เพื่อสังเกตการใช้ไฟฟ้าและการสร้าง Harmonic ของอุปกรณ์

ทฤษฎี
การใช้งาน Current Probe
Current Probe เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดตัวนำจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นรอบๆตัวนำนั้นซึ่ง Current Probe จะถูกออกแบบให้ตรวจจับสนามแม่เหล็กไฟฟ้านั้นและแปลงให้อยู่ในรูปของแรงดันไฟฟ้าที่สัมพันธ์กันก่อนจะส่งไปที่ออสซิลโลสโคป ซึ่งสโคปจะสามารถแสดงผลและทำการวิเคราะห์รูปสัญญาณกระแสไฟฟ้าได้ และเมื่อใช้ออสซิลโลสโคปวัดค่าแรงดันและกระแสไฟฟ้าพร้อมๆ กันก็จะสามารถดูลักษณะของสัญญาณกำลังไฟฟ้าได้โดยใช้ฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ภายในสโคป โดยสามารถที่จะทำการวัดสัญญาณของกำลังไฟฟ้าได้หลายๆรูปแบบประกอบด้วย กำลังไฟฟ้าชั่วขณะ , กำลังไฟฟ้าจริง , กำลังไฟฟ้าที่ปรากฏ และเฟส ฯลฯ  
Current Probe โดยทั่วไปจะมี 2 ชนิด คือ AC Current Probe ซึ่งจะใช้โพรบชนิด passive และ AC/DC Current Probe โดยทั่วไปจะเป็นชนิด active ซึ่งโพรบทั้ง 2 ชนิดนั้นจะใช้หลักการของหม้อแปลงทำการแปลงแรงดันมาจากการตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นรอบๆลวดตัวนำนั้น

การทำงานของหลักการนี้ คือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดตัวนำจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นรอบๆลวดตัวนำนั้นซึ่งมีขนาดและทิศทางตัดกับการไหลของกระแสไฟฟ้า และเมื่อนำขดลวดไปวางไว้ในสนามแม่เหล็กนั้น (ดังภาพ) จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมขดลวดนั้นๆ ซึ่งจะเป็นหลักการทำงานเบื้องต้นของ AC Current Probe ทั่วๆไป และที่หัวจับของโพรบจะมีลักษณะเป็นการใช้ลวดตัวนำพันรอบๆแท่งแม่เหล็ก ทำให้เกิดการแปลงค่ากระแสไฟฟ้าให้เป็นค่าแรงดันที่มีขนาดแปรผันเป็นแบบเชิงเส้นกับค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลวดตัวนำ ค่า Bandwidth ของ Current Probe จะขึ้นอยู่กับการออกแบบขดลวดของโพรบและปัจจัยอื่นๆประกอบกัน ซึ่งค่า Bandwidth จะสามารถมีได้ถึง 1 GHz แต่อย่างไรก็ตามโดยปกติมักจะนิยมใช้ Current Probe ที่มี Bandwidth ที่ต่ำกว่า 100 MHz เท่านั้น
 แรงดันจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบๆลวดตัวนำเฉพาะไฟฟ้ากระแสสลับเท่านั้น

การทำงานของหลักการนี้ คือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดตัวนำจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นรอบๆลวดตัวนำนั้นซึ่งมีขนาดและทิศทางตัดกับการไหลของกระแสไฟฟ้า และเมื่อนำขดลวดไปวางไว้ในสนามแม่เหล็กนั้น (ดังภาพ) จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมขดลวดนั้นๆ ซึ่งจะเป็นหลักการทำงานเบื้องต้นของ AC Current Probe ทั่วๆไป และที่หัวจับของโพรบจะมีลักษณะเป็นการใช้ลวดตัวนำพันรอบๆแท่งแม่เหล็ก ทำให้เกิดการแปลงค่ากระแสไฟฟ้าให้เป็นค่าแรงดันที่มีขนาดแปรผันเป็นแบบเชิงเส้นกับค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลวดตัวนำ ค่า Bandwidth ของ Current Probe จะขึ้นอยู่กับการออกแบบขดลวดของโพรบและปัจจัยอื่นๆประกอบกัน ซึ่งค่า Bandwidth จะสามารถมีได้ถึง 1 GHz แต่อย่างไรก็ตามโดยปกติมักจะนิยมใช้ Current Probe ที่มี Bandwidth ที่ต่ำกว่า 100 MHz เท่านั้น 
การทดลอง
1.ใช้ Current Probe วัดค่าสัญญาณกระแสไฟฟ้าของหลอดต่างๆ
 -หลอดอินแคนเดสเซนต์







-หลอดตะเกียบ






-หลอดฟลูออเรสเซนต์ 1









-หลอดฟลูออเรสเซนต์ 2








สรุปผลการทดลอง
                1.เมื่อใส่สัญญาณเข้าเป็น sine wave ให้โหลด ลักษณะของสัญญาณที่ออกมาจากโหลดนั้นอาจจะไม่เป็นสัญญาณsine wave อันเนื่องมาจาก โหลดรอบตัวเรามากมายมีคุณสมบัติที่ไม่เปน็นเชิงเส้น
                2.หลักการทำงานของ Current Probe คือ จะนำเอาสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นแรงดันและส่งให้ออสซิลโลสโคป โดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเกิดมาจากการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำ